วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

มารู้จักชาเขียวกับแบบลึกซึ้งกันดีกว่า

เพื่อนๆ คงจะคุ้นเคยกันดีกับชาเขียว เครื่องดื่มยอดนิยมที่คนไทยฮิตมากๆ แต่ชาเขียวไม่ได้เป็นได้แค่เครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังเป็นวัตถุดิบอย่างดีที่เหมาะอย่างยิ่งจะนำมาประกอบอาหารและขนม ซึ่งชาเขียวแต่ละชนิดในประเทศญี่ปุ่น ก็มีรสชาติและกลิ่นหอมแตกต่างกันไป 


ชาเขียว ของดีจากแดนอาทิตย์อุทัยนั้นมีหลากหลายชนิด โดยคุณภาพของชาจะขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูก สภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงการดูแลต้นชา และยังแยกช่วงเวลาเก็บชาอีกด้วย เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือชาใหม่ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สอง การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม บางพื้นที่อาจมีถึงสี่ครั้ง ซึ่งชาที่เหลือจากปีก่อนๆ จะเรียกว่า ชาเก่า

งั้นมาดูประเภทของชาเขียวญี่ปุ่นกันดีกว่า 

เริ่มตั้งแต่ระดับพรีเมียม Gyokuro ชาแรกของปีที่ให้รสหวานกำลังดี ใช้เฉพาะงานพิธีการเพราะมีราคาสูง และมีลักษณะเด่นคือม้วนตัวเรียวสีเข้มสวยงาม

แต่ถ้าเป็นใบชาที่ไม่สวยพออย่าง Tencha จะถูกแยกออกมาเพื่อนำไปอบและบดให้ละเอียดเป็นชามัทฉะ

ส่วน Matcha ชาดีมีคุณภาพราคาแพงเช่นกัน แต่มาในแบบผงชาบดละเอียด เป็นชนิดที่คนไทยคุ้นหูเพราะถูกนำไปใช้หลายอย่างทั้งนำไปผสมกับอาหารและเครื่องดื่ม แต่ในญี่ปุ่นแล้วนิยมนำไปใช้ในพิธีชงชา ซึ่งมัทฉะเองก็มีหลายเกรด นอกจากนี้ ยังถูกนำไปทำขนมโมจิ ขนมเค้ก ขนมญี่ปุ่น ขนมวากาชิ ไอศครีมชาเขียว และน้ำปั่น

ด้าน Konacha ทำจากชิ้นส่วนเล็กๆ แยกมาจากชาเกียวคุโระ และชาเซนฉะ ราคาถูกกว่าชาชั้นดีทั้งสองและมักถูกเสริฟในร้านขายซูชิ

ส่วนชาเซนฉะ หรือ Sencha เป็นชาคุณภาพรองลงมาจากชาเกียวโระคุและมัทฉะ ผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่น มักจะนำมาผลิตเป็นชาเขียวให้คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน 

สำหรับ Fukamushicha เป็นชาชนิดเดียวกับชาเซนฉะ แต่ถูกนำไปอบนานเป็นสองเท่าของชาเซนฉะ ให้รสชาติเข้มข้นและหวานกว่าชาเซนฉะ

ต่อด้วย Kabusecha ชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ให้รสชาติอ่อนกว่าชาเซนฉะ

ส่วน Kawayanagi เป็นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของชาคาบุเซะชะและชาเซนฉะ รสชาติเบาๆ 

สำหรับ Bancha ชาที่เก็บหลังจากชาเซนฉะ รสอ่อนๆ คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะเพราะเป็นใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชา 

ต่อด้วยชาข้าวกล้องหรือชาข้าวโพด Genmaicha เป็นชาที่นำข้าวกล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องดื่มของคนยากคนจนและพระ 

หากเป็น Aracha ชาเขียวดิบ จะผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้านของชาเป็นชาที่ให้รสชาติเข้มข้นมาก ส่วนใหญ่จะนำไปผสมกับชาอื่นๆ 

Guricha หรือ Tamaryokucha ใบชาจะแห้งหยิก มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบาๆ เหมือนลูกเบอร์รี่ 

สำหรับชาที่ให้รสชาติอ่อนโยนก็ต้อง Kamairicha ชาที่นำไปคั่วในกะทะมีรสหวานหอม 

มาที่ Boucha หรือ Kukicha ชาที่ได้มาจากลำต้นและก้านของชาเซนฉะหรือชามัทฉะ ใบชาผสมน้อย มีรสชาติหวาน นำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้

Karigane หรือ Shiraore ชาที่ได้มาจากก้านของชาเกียวโระคุ  มีรสชาติหวาน ชาประเภทนี้ก็สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย

สำหรับนักทานซูชิน่าจะคุ้นเคยกับ Mecha เพราะเป็นชาที่มักจะเสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาวที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ  
ชาอีกประเภทที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยนเช่นกัน Houjicha ชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว เป็นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบายๆ ในระหว่างวัน หรือดื่มก่อนเข้านอนก็ได้ เป็นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็ก

สุดท้าย Funmatsucha ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เปิดซองเติมน้ำร้อนก็พอแล้ว

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ชาเขียว ญี่ปุ่น จะจำแนกได้เยอะขนาดนี้ ว่าแล้วก็หาชาเขียวมาดื่มบ้างดีกว่า ^^

เครดิต: marumura.com, sleepwarrior.com และ maruyamaseicha.co.jp 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น