วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

คำถามสุขภาพกับโรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เนื่องจากตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะ ปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บ น้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย


       โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติ และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50 % ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี เชื้อชาติโดยเฉพาะในชนผิวขาวและผิวดำพบมากกว่าชนเผ่าทางเอเชีย และพบมากขึ้นในรายที่มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัว

ต่อมลูกหมากโตเกิดขึ้นได้อย่างไร
        ต่อมลูกหมากในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก (ชนิดธรรมดา) โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เมื่อเซลล์แตกตัวมากขึ้นก็ทำให้ขนาดต่อมลูกหมากโตขึ้นเรื่อยๆจนไปกดหรือเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดขึ้น

โรคต่อมลูกหมากโตมีอาการอย่างไร
      โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมี 2 ระยะคือ
      ระยะแรก จะมีอาการปัสสาวะบ่อย จากที่เคยลุกขึ้นปัสสาวะในตอนกลางคืน 1-2 ครั้ง หรือไม่ลุกเลย จะลุกขึ้นบ่อย 3-4 ครั้งขึ้นไปจนรบกวนการนอนหลับ ในเวลากลางวันก็มีอาการปัสสาวะบ่อยแต่คนไข้จะปรับตัวได้จนไม่รู้สึก
       ระยะที่สอง ต่อมาจะรู้สึกว่าปัสสาวะนานกว่าจะออก ต้องเบ่งบางครั้งต้องรอ 1-2 นาทีจึงจะออกและจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปัสสาวะไม่พุ่ง แทนที่จะพุ่งไปข้างหน้าก็พุ่งน้อยลง พอปัสสาวะเสร็จยังมีหยดออกมาอีก ในที่สุดจะปัสสาวะไม่ออกเลย
คนไข้มักจะมาหาหมอด้วยอาการปัสสาวะไม่ออกเลย ปัสสาวะแน่นท้องต้องใช้วิธีสวนออกให้ และให้การรักษาต่อไป

โรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาจะมีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร
      ในกระเพาะปัสสาวะปกติมีปัสสาวะประมาณ 400-500 มิลลิลิตร ถ้าปัสสาวะไม่หมดมีปัสสาวะค้างอยู่อย่างที่หนึ่งคือ ทำให้เกิดการตกตะกอน และเป็นนิ่วได้ อย่างที่สองคือเกิดการติดเชื้อขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาเลยก็อาจมีผลต่อไต

ในคนไข้ที่มีอาการน้อยๆ ควรเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร
      จุดใหญ่คือคนที่อายุมากขึ้นจะมี ปัญหาเรื่องปัสสาวะแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นมากเป็นน้อย วิธีปฏิบัติตัวคือ
      1. หลักเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ ก่อนนอนอย่าดื่มน้ำมาก และให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน เพราะกลางคืนจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นบ่อย กลางวันไปไหนก็อย่ากลั้นปัสสาวะ ปวดแล้วก็ควรจะปัสสาวะ เพราะกลั้นแล้วจะทำให้เป็นมากขึ้น
      2. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ปัสสาวะออกมาเยอะ
      3. อย่านั่งจักรยานหรือทำอะไรที่สะเทือนต่อมลูกหมาก เพราะจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก
      4. ถ้าเป็นไปได้ควรมีการร่วมเพศบ้าง เวลามีน้ำเชื้อออกมาบ้างจะทำให้ต่อมลูกหมากไม่บวม

โรคนี้ป้องกันได้หรือไม่
       ขณะนี้ยังไม่ได้ เพราะต่อมลูกหมากโตเกิดจากสาเหตุอะไรไม่รู้ ที่แนะนำคือป้องกัน ไม่ให้อาการแย่ลงแต่วิธีป้องกันไม่ให้เกิดยังไม่มี

การบริโภคเพื่อลดเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
      จากงานวิจัยพบว่าพฤติกรรมบริโภคที่ไม่ดีอาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ มีรายงานการวิจัยว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงการตายจากโรค นี้ โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคดังต่อไปนี้

      ลดอาหารไขมันสูง
      ไขมัน อาจเร่งให้เซลล์มะเร็งเจริญได้ดี และไขมันทำให้ระดับฮอร์โมนเพศสูง ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก กรดไขมันอิ่มตัวเป็นอันตรายอันดับ 1 พบในไขมันสัตว์และกะทิ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีมากในปลาทะเล ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน
       รวมทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง) เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ให้ผลในการป้องกันทั้งโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

       จำกัดอาหารประเภทเนื้อแดง
       ใน เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่) จะมีไขมันแทรกอยู่มาก ทำให้ได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย โดยอาจเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองแทนจะดีกว่า ในรูปเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง และนมถั่วเหลือง สามารถชะลอความรุนแรงของมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ เพราะถั่วเหลืองมีฮอร์โมนพืชที่เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจน

       กินผัก ผลไม้ มากขึ้นโดยเฉพาะมะเขือเทศ
       ผัก ผลไม้ ช่วยในการป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ (สีเขียวจัด แดง เหลือง และส้ม) ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ มีสารไอโซเฟลโวนอยด์สูง และอาจมีผลต่อการลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ผัก ผลไม้ ยังมีวิตามินซี และเส้นใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคหัวใจอีกด้วย
       สาร ไลโคพีนเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง มีมากในผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศ ซุปมะเขือเทศ และน้ำมะเขือเทศ ความร้อนจะทำให้สารไลโคพีนถูกปลดปล่อยจากผนังเซลล์มากขึ้น ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น

      กินอาหารที่มีวิตามินดีสูง
       ผู้ชาย ที่อยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดน้อย มีโอกาสเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากสูง เพราะแสงแดดช่วยสร้างวิตามินดีในผิวหนังคนเรา แต่คนไทยเรานั้นได้รับแสงแดดเหลือเฟือ ปัจจัยข้อนี้จึงไม่น่ากังวล
       แต่ ในคนสูงอายุที่ประสิทธิภาพการสร้างวิตามินดีลดลง อาจเพิ่มอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น นม โดยแนะนำให้เลือกนมพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน

       เน้นอาหารที่มีสารซีลีเนียมและวิตามินอี
       ซีลีเนียม มีผลมากต่อการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมา พบมากในเมล็ดพืชต่างๆ เห็ด ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดดอกทานตะวัน จมูกข้าวสาลี อาหารทะเล สัตว์ปีก ไข่ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
       วิตามินอีช่วยทำลายเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่การที่ร่างกายจะดูดซึมวิตามินอีจากอาหารอย่างเดียวในปริมาณสูงค่อนข้างยาก
       ฉะนั้นการเสริมวิตามินอีวันละ <400 ไอยู อาจเป็นอีกทางเลือกที่จะต้องพิจารณา วิตามินอีพบในน้ำมันพืช ถั่วเปลือกแข็ง และผักใบเขียวจัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น