วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เสน่ห์ผ้าไหมไทยไปอาเซียน

ด้วยจุดเด่นและมนเสน่ห์ของเอกลักษณ์ผ้าใหมไทย พร้อมทั้งรัฐบาลมีนบายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสากรรมแฟชั่นและสิ่งทอของไทย ส่งผลให้ผ้าไหมไทยเป็นที่น่าจับตามองในตลาด AEC

                เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าภายในปี 2558 ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยงแปลงทางด้านการค้าครั้งยิ่งใหญ่อย่างการเปิดอา เซียน ส่งผลให้ทุกประเทศตื่นตัวในการนำสินค้าเด่น ๆ ของประเทศตนเองส่งออกสู่อีก 10 ประเทศอาเซียน และหนึ่งสินค้าที่หน้าจับตามองของประเทศไทย คือผ้าไหมของไทยเรานั้นเอง ด้วยเสน่ห์ของเนื้อผ้าที่แตกต่างจากผ้าพื้นเมืองของประเทศอื่น ๆ อีกทั้งยังมอบความหรูหราให้กับผู้ส่วมใส่

                ทั้งนี้ในปี 2555 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าประเภทไหมดิบไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ประมาณ 3,466 ตัน หรือ 3,100,000 บาท สินค้าผ้าไหม ประมาณ 1,319 ตัน มูลค่า 400,000 บาท และส่งออกสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม จำนวน 2,778 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,900,000 บาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ประเทศไทยยังมีความกังวลในด้านความนิยมผ้าไหมในกลุ่มวัยรุ่นอยู่ หากอุดช่องโหว่ตรงนี้ได้ อุตสาหกรรมผ้าไหมจะเติบโตได้ง่ายขึ้น แต่ยังมีปัจจัยหลายด้านที่ทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก เช่นเนื้อผ้าที่ค่อนข้างดูแลยาก และราคาที่ค่อนข้างสูง ถึงอย่างไรก็ดี ผ้าไหมไทยยังถือเป็นสินค้าของฝากระดับพรีเมี่ยนที่หลายประเทศยอมรับ ดังนั้นด้านราคาจึงไม่เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตที่ทำด้วยมือทุกกระบวนการ และสินค้าทุกชิ้นเป็นชิ้นเดียวในโลก จึงเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับผ้าไหมไทยได้ดีทีเดียว

                ทั้งนี้กรมหม่อนไหม ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประคมเศรษฐกิจอาเซียนดังนี้ การจัดตั้งสมาคมหม่อนไหมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านวิจัยและพัฒนาหม่อน ไหมในแถบภูมิภาคอาเซียน พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงใหม พร้อมสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์ไหมให้เป็นเครื่องหมายการค้าของกลุ่มประเทศอา เซียนให้รู้จักในตลาดโลก ด้านการเผยแพร่คุณค่าเอกลักษณ์และส่งเสริมการตลาดไหมไทยในต่างประเทศ ด้วยการจัดนิทรรศการและการสาธิตองค์ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้าน หม่อนไหมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านการพัฒนาไหมไทย พร้อมแนะแนวทางในการปรับตัวของประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ควรใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่อย่างเต็มที่โดยภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรโดย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบ ในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในการทำหม่อนไหม ทั้งยังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการ ของตลาด รวมถึงการศึกษารสนิยมแฟชั่นของคนในกลุ่มอาเซียน ว่ามีรสนิยมในการแต่งกาย หรือมีแฟชั่นอย่างไร และสังเกตความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิตวัตถุดิบไปยังประเทศที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงค่าแรง และความสามรถในการผลิต

นอกจากนี้การสร้างค่านิยมในการแต่งตัวให้กลุ่มผู้บริโภค โดยอาศัยการประชาสัมพันธ์ และการโน้มน้าวจิตใจประกอบด้วยถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากน้อยคนนักที่จะรู้จักสรรพคุณของผ้าไหมไทย และยังไม่รู้ซึ่งถึงความคลาสสิคของลายไหมไทย และจุดนี้คือจุดเด่นที่สำคัญในการพัฒนาผ้าไหมไทยให้ก้าวไกลในอาเซียนต่อไป ได้


ที่มา : smart sme

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น