วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประกันชีวิต...ป้องกันความผิดพลาด

ประกันชีวิต คืออะไร หลักพื้นฐานของเรื่องประกันชีวิตก็มาจากความเป็นจริงในชีวิตที่ว่าการดำเนินชีวิตของคนในภาวะปัจจุบัน ต้องเผชิญกับอันตรายต่าง ๆ มากกว่าแต่ก่อน ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ, อุบัติเหตุ หรือการก่อการร้าย ซึ่งอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น (โดยการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท) ไม่มีทางที่จะป้องกันได้หมด แต่เราสามารถวางแผนเผื่อ เพื่อทดแทนการสูญเสียนั้นได้

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
  1. ให้ความคุ้มครองต่อครอบครัว เมื่อเราคิดที่จะมีครอบครัวแล้ว เราก็หวังว่าครอบครัวเราจะต้องมีความมั่นคงและปลอดภัยพอสมควร แต่หากหัวหน้าครอบครัวหรือ ผู้ที่หาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวเป็นอะไรไป สมาชิกภายในครอบครัวที่เหลือย่อมประสบความลำบากในการดำรงชีวิตได้ การประกันชีวิตจะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้สึกอุ่นใจและมั่นคงตลอดไปของสมาชิกในครอบครัว ก็เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน ที่ผู้ประกันชีวิตจะได้รับ
  2. รักษาเป้าหมายการออมเงิน การทำประกันชีวิตจะมีประโยชน์ในการออมทั้งทางตรง และทางออ้มนั่นคือ หากเราสามารถกำจัดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินออมอย่างไม่คาดคิด เราย่อมสามารถรักษาเป้าหมาย ของเงินออมเอาไว้ได้ อะไรที่อยู่ในแผนการจะสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่อยู่ในแผนการเรา
  3. สิทธิลดหย่อนทางภาษี เงินเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปในแต่ละปี สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายได้ถึง 50,000.00 บาท หากท่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนมาก (โดยดูได้จากใบ Slipเงินเดือนซึ่งจะระบุว่าท่านถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าใดในแต่ละเดือน) ทางเลือกแรกของการหาค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีคือ การลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทำประกันชีวิตนั่นเอง เพราะการจ่ายเบี้ยประกันจะทำให้เราประหยัดภาษีในแต่ละปีได้ 10 % - 20% ของเงินเบี้ยประกัน นั่นคือกำไรพิเศษที่เราได้นั่นเอง
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการทำประกัน
  • ประการที่ 1 ต้องเข้าใจว่า "ประกันชีวิตคืออะไร" ประกันชีวิต = (ความคุ้มครอง+การเก็บออม+การลงทุน)
  • ประการที่ 2 ต้องเข้าใจ ตัวเองก่อนตกลงใจ ท่านจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ท่านทำเพื่ออะไร เพราะเหตุใด และจะทำอย่างไร จะทำให้ท่านเข้าใจและตัดสินใจได้มากขึ้น
  • ประการที่ 3 ต้องเข้าใจ ประเภทของกรมธรรม์
  • ประการที่ 4 ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันภัย
  • ประการที่ 5 ทำความเข้าใจกับสิทธิอื่นที่จะได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น