นักลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่ มักที่จะคอยเฝ้าติดตามข่าวสารต่างๆ ว่านักวิเคราะห์จะมีมุมมองอย่างไร หรือตลาดหุ้นในต่างประเทศจะตอบสนองอย่างไร หรือแม้แต่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศผู้นำของโลกนั้นจะเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่สามารถแปลความข่าวได้อย่างเข้าใจ ซึ่งบางครั้งในตัวข่าว ก็ยังเกิดความขัดแย้งและสับสนในหลายช่วงเวลา ที่ทำ ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นประเด็นเดียวกัน แต่เกิดเหตุการณ์คนละช่วงเวลา
ซึ่งจากตัวอย่างหนี่งที่เราอาจเห็นภาพได้ชัดคือราคาทองคำ ที่อาจมีทั้งปัจจัยบวกและลบได้จากสาเหตุจากสิ่งเดียวกัน แต่เกิดคนละช่วงเวลาได้ เหตุเพราะความสัมพันธ์ของทองคำ มิได้เกิดขี้นจากปัจจัยเดียว ดังนั้นผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจ ถึงเหตุผลของกระแสเงินลงทุน ว่ามองสินทรัพย์นั้นเป็นอย่างไรในช่วงเวลานั้น เพราะตราสารการเงินต่างๆนั้นอาจมีความสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งสิ่ง เพียงแต่ช่วงเวลานั้นๆ มุมมองชองนักลงทุนส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปทางใด
ดังนั้นกฎการลงทุน จึงไม่มีรูปแบบตายตัว แต่สามารถศึกษารูปแบบพฤติกรรมที่อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำๆได้ โดยผู้ลงทุนจำเป็นต้องสังเกตผลกระทบต่อเนื่องของเหตุการณ์นั้นๆว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างไร
ซึ่งการแปลความโดยใช้การท่องจำ อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเห็นภาพของความสัมพันธ์ของตราสารต่างได้
ดังนั้นผู้ลงทุนควรศีกษาพฤติกรรมความสัมพันธ์ตราสารการเงินต่างๆจากกราฟก็จะสามารถเห็นภาพรวมการลงทุนได้ดีที่สุด
ซึงจะแตกต่างจากนักลงทุนที่ขาดการวิเคราะห์ด้วยตนเอง ได้เพียงแต่ติดตามข่าวสาร เพื่อหาเหตุผลย้อนหลัง มาสนับสนุนกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ดังนั้นผู้ลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์จากผู้อื่นเป็นส่วนใหญ่ ก็จะมีลักษณะการเข้าซื้อในราคา ที่ก้าวช้าตามหลังผู้อื่นเสมอ ซึ่งเปรียบกับราคาสินทรัพย์ได้เปลี่ยนแปลงสะท้อนข่าวสารไปเกือบหมดแล้ว ซี่งก็หมายถึงโอกาสการลงทุน ก็ถูกปิดช่องว่างนั้นลงไปในทันทีเช่นกัน
ดังนั้น นักลงทุนที่ดี ควรจะสามารถวิเคราะห์การลงทุนได้ด้วยตนเอง และสร้างกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับตน
โดยจะต้องมีการวางแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้า และปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ซี่งการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของตลาดหุ้นและตลาดตราสารการเงินอื่นๆ นั้นจะเป็นตัวช่วยในการวางแผนการลงทุน ที่จะสามารถประเมินแนวโน้มหรือกระแสเงินลงทุนว่าจะเคลื่อนที่ไปในทางใด อย่างไร
โดยกฎของนิวตัน บอกไว้ว่า “สสารไม่สูญหาย” เพียงแค่เปลี่ยนรูปไป
ดังนั้นการเคลื่อนที่ของกระแสเงินลงทุนทั่วโลก ก็จะเปลี่ยนรูปไป เป็นตราสารการเงินต่างๆนา เช่น สกุลเงินต่างๆ (ดอลลาร์, ยูโร,สวิส ฟรังค์, เยน และ อื่นๆ) , ทองคำ, พันธบัตร, หุ้นกู้, อสังหาริมทรัพย์, สินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมัน, สินค้าเกษตร และ อื่นๆ) ได้ไม่ต่างกัน
ซึ่งหากผู้ลงทุนสามารถ ทำความเข้าใจภาพการลงทุนในตราสารต่างๆ โดยการอาศัยกราฟราคาและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ก็จะเห็นถึงแนวโน้มของกระแสการเคลื่อนที่ของตราสารการเงินได้มากขึ้น ดังที่ผมจะยกตัวอย่างให้ดูจากข้อมูลด้านล่างนี้ ครับ
ความสัมพันธ์ของค่าเงินยูโร ต่อดอลลาร์
ในช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรมีการอ่อนค่าต่อเงินสกุล US dollar ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค.55 จึงส่งผลใน dollar index แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งปัจจัยการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐส่วนหนึ่ง ก็คือ การเกิดกระแสเงิน ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกาอย่างต่อ เนื่องและรุนแรง จากผู้ลงทุนที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ จากความกังวลในเศรษฐกิจและค่าเงินยุโรป จึงทำ ให้นักลงทุนทั่วโลก แลกเงินกลับมาเป็นสกุลดอลลาร์ เพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอเมริการ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลอเมริกา อายุ 10ปี อยู่ที่ต่ำกว่า 1.5% ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลอเมริกา อายุ 10ปี อยู่ที่ต่ำกว่า 1.5% ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปี
ความสัมพันธ์ ผลตอบแทนพันธบัตร ต่อการลงทุนในหุ้น ที่จะเห็นว่าผลตอบแทนของพันธบัตรปรับลดลง เนื่องจากกระแสเงินไหลออกจากตลาดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไปหา สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกว่า คือจะมีเงินไหลออกจากหุ้นมาเข้าตราสารหนี้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของเนื้อหา ที่จะกล่าวถึงใน Class การอบรม workshop 202
ที่จะให้ผู้ลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนเปรียบเสมือนผู้จัดการกองทุน และวิเคราะห์ตราสารต่างๆ ได้อย่างนักวิเคราะห์
โดยจะพูดถึงความสัมพันธ์ของตลาดตราสารการเงินต่างๆ ว่ามีความสัมพันธ์เป็นในรูปแบบใด
ได้แก่ ตลาดหุ้น กับตลาดตราสารหนี้ , ตลาดหุ้น กับตลาดทองคำ, ตลาดหุ้นกับราคาน้ำมัน, การวิเคราะห์กระแสเงินลงทุน (Fund Flow) , การวิเคราะห์เชิงลึก Top down Analysis จากกราฟ , การแปลความหมายจากตัวเลขดัชนีต่างๆ และการหาข้อมูล และการวิเคราะห์ได้อย่างนักวิเคราะห์ และอื่นๆ
ที่จะให้ผู้ลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนเปรียบเสมือนผู้จัดการกองทุน และวิเคราะห์ตราสารต่างๆ ได้อย่างนักวิเคราะห์
โดยจะพูดถึงความสัมพันธ์ของตลาดตราสารการเงินต่างๆ ว่ามีความสัมพันธ์เป็นในรูปแบบใด
ได้แก่ ตลาดหุ้น กับตลาดตราสารหนี้ , ตลาดหุ้น กับตลาดทองคำ, ตลาดหุ้นกับราคาน้ำมัน, การวิเคราะห์กระแสเงินลงทุน (Fund Flow) , การวิเคราะห์เชิงลึก Top down Analysis จากกราฟ , การแปลความหมายจากตัวเลขดัชนีต่างๆ และการหาข้อมูล และการวิเคราะห์ได้อย่างนักวิเคราะห์ และอื่นๆ
โดยผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จาก ลิ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น