รูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
ถ้าไม่เชื่อ... คุณลองหยิบธนบัตรใบละ 100 บาทขึ้นมา และคิดย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วว่า เงิน 100 บาทนี้ สามารถซื้อข้าวได้กี่จาน มากกว่าหรือน้อย
ที่ซื้อได้ในวันนี้?
เชื่อว่าคำตอบที่ได้รับน่าจะเหมือนๆ กัน คือ เงิน 100 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สามารถซื้อข้าวได้มากกว่าในวันนี้เป็นแน่ นั่นเป็นเพราะ “พลังเงิน” หรือ
“มูลค่าที่แท้จริงของเงิน” ลดลงตลอดเวลา อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ซึ่งเป็นภาวะที่ราคาสินค้าหรือบริการโดยเฉลี่ยในท้องตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง
ดังนั้น การเก็บเงินไว้กับตัวเอง จะเอาใส่ไหฝังดิน หรือเก็บซ่อนไว้ตามตู้เสื้อผ้าหรือใต้หมอนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงมีแต่จะทำให้เงินที่เก็บสะสมไว้มีมูลค่า
ลดลงเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้เอง คนเราจึงเริ่มสะสมหรือเก็บออมเงินในรูปของเงินฝากธนาคาร เพื่อเพิ่มค่าเงินออมให้มากขึ้น และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ แต่หลายปี
ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อวิ่งพุ่งพรวด ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ต่ำติดดิน ลำพังการออมเงินไว้ในธนาคารเพียงอย่างเดียว คงทำให้คุณต้องแบกต้นทุนชีวิตที่แพงขึ้น
เพราะเงินออมเติบโตไม่ทันราคาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น แถมดูท่าจะไปถึงฝั่งฝันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น
“การลงทุน” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ เงินออมของคุณงอกเงย และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วขึ้น เพราะการลงทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
ดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเมื่อหักลบกับเงินเฟ้อแล้ว “พลังเงิน” ของคุณไม่ลดลง แถมยังช่วย “เพิ่มพลัง” ในการจับจ่ายใช้สอยให้คุณได้อีกด้วย
แต่ในปัจจุบัน ทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป คุณจึงจำเป็นต้องศึกษาทางเลือกต่างๆ เพื่อให้เงินออม
ออกดอกออกผล สร้างความมั่งคั่งให้คุณอย่างคุ้มค่าและสอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด
เอาเป็นว่า... ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องการลงทุนพร้อมๆ กันนั้น เราน่าจะทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนดีกว่าว่า “การลงทุนคืออะไร” เพราะบางคนเห็นคนอื่นร่ำรวย
จากการลงทุน เลยเข้าใจว่าการลงทุนน่าจะเป็นหนทางทำให้ตนเองร่ำรวยได้รวดเร็ว ในขณะที่อีกหลายคนเข้าใจว่าการลงทุนเป็นเหมือนการพนันหรือการเสี่ยงโชค
ประเภทหนึ่ง ถ้ามีดวง ก็อาจทำให้ร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านในชั่วข้ามคืน
แท้จริงแล้ว... การลงทุนไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ผู้ลงทุนร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วเสมอไป ในทางตรงกันข้าม การลงทุนที่ขาดความรู้ ขาดความเข้าใจไม่มีการศึกษา
และวางแผนการลงทุนที่ดีพอ ก็อาจทำให้คุณเสียโอกาสในการลงทุน เผลอๆ อาจจะทำให้ขาดทุนเลยก็ได้
ที่มา.http://www.tsi-thailand.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น