เมื่อพูดถึงความอ้วนเราคงไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกับเรา และคงเป็นอะไรที่รับไม่ได้ แต่ก่อนจะหาวิธีลดน้ำหนั กเราจะรู้ได้ยังไรว่าอ้วนและมีไขมันสะสมแล้ว
สาวๆ ทุกๆ คนล้วนแต่อยากจะมีรูปร่างที่ดีจริงไหมทุกๆ คนก็รู้ว่าไม่ดี เนื่องจากนอกจากการดูไม่สวย หาเสื้อผ้าใส่สวยๆ ยากแล้ว การที่อ้วนเกินไปก็ยังส่งผลเสียในด้านสุขภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงที่อายุสั้นลงจะเพิ่มขึ้น 20-40% เลยทีเดียว เมื่อเป็นโรคอ้วนแล้ว ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก 2-3 เท่า
แต่ทีนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา ผอมเกินไป พอดี เริ่มอ้วน หรืออ้วนเกินไปล่ะคะ เราสามารถวัดความอ้วนหรือไม่ได้โดยการใช้ดัชนีมวลกายและขนาดเส้นรอบพุง (ไม่ใช่รอบเอว) ในการตรวจสอบว่าเราเริ่มอ้วนหรือไม่ จะได้จัดการแก้ไขได้ต่อไป
ตัดสินอย่างไรว่าอ้วนหรือไม่
สิ่งแรกที่เราจะดูกันก็คือ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) โดยจะต้องทำการคำนวณง่ายๆ เล็กน้อยจากส่วนสูงและน้ำหนักของเราดังนี้ค่ะ
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)^2
โดยที่ ^2 หมายถึง ยกกำลังสอง (คือเอาตัวเลขเดียวกันคูณกันสองครั้ง) นะคะ
แต่ทีนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา ผอมเกินไป พอดี เริ่มอ้วน หรืออ้วนเกินไปล่ะคะ เราสามารถวัดความอ้วนหรือไม่ได้โดยการใช้ดัชนีมวลกายและขนาดเส้นรอบพุง (ไม่ใช่รอบเอว) ในการตรวจสอบว่าเราเริ่มอ้วนหรือไม่ จะได้จัดการแก้ไขได้ต่อไป
ตัดสินอย่างไรว่าอ้วนหรือไม่
สิ่งแรกที่เราจะดูกันก็คือ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) โดยจะต้องทำการคำนวณง่ายๆ เล็กน้อยจากส่วนสูงและน้ำหนักของเราดังนี้ค่ะ
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)^2
โดยที่ ^2 หมายถึง ยกกำลังสอง (คือเอาตัวเลขเดียวกันคูณกันสองครั้ง) นะคะ
จากนั้นมาดูผลการคำนวณที่ได้
ดัชนีมวลกาย = 18.5 - 22.9 น้ำหนักปกติ
ดัชนีมวลกาย = 23-24.5 น้ำหนักเกินมาตรฐาน
ดัชนีมวลกาย = 25 หรือมากกว่า อ้วนเกินไป
เราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณเล่นๆ กันดีกว่า
สมมติว่า มีเพื่อนหญิงคนหนึ่งสูง 167 ซ.ม. นั่นคือสูง 1.67 เมตร และหนัก 42 กิโลกรัม
เราก็คำนวณได้ดังนี้
ดัชนีมวลกาย = 42 / (1.67 x 1.67) = 47 / 2.7889 = 16.85 โดยประมาณ จะเห็นว่าผอมเกินไปนิดๆ แต่อาจจะเป็นหุ่นนางแบบเลยก็ได้นะคะ
ถ้าดัชนีมวลกายสูงเกินไป ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานก็สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนีมวลกายไม่ใช่ตัวตัดสินความอ้วนได้ทั้งหมด เพราะว่าปัญหาสุขภาพ จริงๆ ก็คือปริมาณไขมันที่ถูกเก็บสะสมอยู่อีก นั่นคือคนที่มีดัชนีมวลกายปกติดี อาจจะมีไขมันมากแต่เนื้อน้อยก็ได้เพราะว่าไขมันนั้นเบากว่ากล้ามเนื้อ นั่นคือพวกนักกล้ามที่แข็งแรงมากเนื้อตัวมีแต่กล้ามเนื้อและกระดูก อาจจะถูกคำนวณออกมาว่าน้ำหนักมากกว่าปกติได้ ดังนั้นจึงมีอีกวิธีหนึ่งในการตัดสินดูว่าอ้วนไปหรือไม่คือ
การวัดรอบพุง
เราสามารถประเมินว่าอ้วนเกินไปหรือไม่ได้อย่างง่ายๆ โดยการลองวัดเส้นรอบพุง คือจุดที่วัดผ่านสะดือ โดยมีเกณฑ์ว่าถ้ารอบพุงของผู้หญิงเรามากกว่า 32 นิ้วถือว่าอ้วนเกินไป ถ้าเป็นผู้ชายที่รอบพุงเกิน 36 นิ้วก็ถือว่าอ้วนเกินไป การวัดรอบพุงนี้อาจจะพอเป็นตัวแทนได้ถึงไขมันที่สะสมไว้ในช่องท้อง ซึ่งปริมาณไขมันในตัวเรานี้เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพไปทั้งตัวเลยทีเดียว
คราวนี้ เมื่อเพื่อนๆ สาวๆ ได้ทราบวิธีประเมินว่าตัวเองอ้วนเกินไปหรือไม่แล้ว ก็จะได้จัดการกับน้ำหนักของตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อความสวยงามและที่สำคัญก็คือสุขภาพที่ดีต่อไปค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น