วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“กินข้าวนอกบ้าน” อุปสรรค์ของคนควบคุมอาหาร

อยู่เมืองไทยก็ดีไปอย่าง อาหารการกินหาได้ง่ายดายแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะมื้อไหนๆ ก็สามารถเดินออกนอกบ้านมาทานร้านข้างทางได้อย่างแสนสะดวก เสียงสั่งอาหารมื้อค่ำที่ได้ยินจนคุ้นหูอย่าง “ข้าวขาหมูจานค่ะ” ก็มักจะได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว

พร้อมเสิร์ฟตรงหน้าด้วยข้าวจานโตที่มาพร้อมกับเนื้อหมูและชั้นไขมันที่หั่นพอดีคำ ข้างจานมีไข่ต้ม คะน้าใบเขียวและราดด้วยน้ำขาหมูเข้มข้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ข้าวขาหมู” ก็คงเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายๆคนเช่นกัน



ในหลายปีที่ผ่านมา ไลฟ์สไตล์การดำรงชีวิตของคนเมืองในประเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนการทำอาหารได้กลายมาเป็นเทรนด์งานอดิเรกมากกว่าจะเป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวันเหมือนสมัยก่อน ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าคนไทยทานอาหารนอกบ้านมากถึง 13 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม โครงการขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย ได้แสดงผลการศึกษาว่าคนไทยกว่า 70% มักจะทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้ออาหารจากนอกบ้านกลับมารับประทาน ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่คนทานอาหารนอกบ้านมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซูซาน โบเวอร์แมน ที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ให้ความเห็นว่า “มากกว่าหนึ่งในสามของแคลอรี่ที่เราได้รับทั้งหมด และ 40% ของไขมันที่เราบริโภคเข้าไป ล้วนมาจากอาหารที่รับประทานนอกบ้านทั้งสิ้น และแน่นอนว่าอาหารจานด่วนเป็นแหล่งให้แคลอรี่มากกว่าเมนูอื่นๆ”

“ส่วนมากแล้ว ร้านอาหารมักปรุงอาหารโดยไม่คำนึงปริมาณไขมันในอาหาร และเติมเสริมรสชาติเต็มที่ ทั้งยังใช้วัตถุดิบที่ราคาไม่แพงมากมาประกอบอาหาร” ซูซานกล่าวเสริม
ด้วยเหตุที่คนไทยชอบทานอาหารนอกบ้านนี่เอง จึงทำให้ประเทศไทยติดหนึ่งในห้าประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีจำนวนคนน้ำหนักเกินมากที่สุด และกระทรวงสาธารณสุขเคยได้คาดการณ์อีกด้วยว่าประเทศเราอาจมีคนน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มากถึง 21 ล้านคนในอนาคต
การที่คนไทยชอบทานอาหารนอกบ้าน แถมยังมีอาหารสำเร็จรูปให้เลือกซื้ออยู่แทบทุกที่ จึงอาจจะเป็นสาเหตุหลักให้ความอ้วนถามถึง กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในแต่ละปีนั้น เราบริโภคน้ำตาลมากถึง 30 กิโลกรัมต่อคน เพราะส่วนใหญ่แล้ว เรามักเติมน้ำตาลในมื้ออาหารอยู่เสมอ รสชาติที่ได้อาจจะอร่อยถูกใจ แต่ปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ รวมแล้วสูงกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำเสียอีก สำหรับเกลือก็เช่นเดียวกัน โดยเราบริโภคเกลือมากถึง 10.8 กรัมต่อวัน สูงกว่าปริมาณที่แนะนำ 2 เท่า การรับประทานเกลือมากเกินไปเป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะการคั่งของน้ำและปัญหาความดันโลหิต ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคร้ายแรงอื่น



ทั้งหมดนี้ทำให้การทานอาหารนอกบ้านเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคนที่กังวลเรื่องปริมาณแคลอรี่ที่บริโภคในแต่ละวัน หากเราทำอาหารทานเอง ย่อมเป็นเรื่องง่ายกว่าที่เลือกได้ว่า “มื้อนี้ขอปลานึ่งแทนปลาทอด” หรือกำหนดได้ว่า “ข้าวผัดจานนี้ขอใส่น้ำมันน้อยหน่อย” แต่กับร้านอาหารที่เราทานนอกบ้าน เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารจานนั้นปรุงตามข้อกำหนดที่เราต้องการหรือไม่
ขั้นตอนแรกที่ดีและแสนง่ายคือการเลี่ยงการทานอาหารที่ร้านฟาสต์ฟู้ด แต่ให้เลือกร้านที่คุณสามารถบอกกับพ่อครัวหรือแม่ครัวได้ว่าอยากทานอย่างไร หรือปรุงอาหารอย่างไร ขั้นที่สอง คือการลองหันมาทานอาหารไทยที่ดีต่อสุขภาพอย่างส้มตำ ต้มยำกุ้งน้ำใส หรือต้มแซบ เพราะมีปริมาณไขมันที่น้อยกว่า แถมยังได้รสชาติที่ถูกปากด้วย



“แค่วางแผนนิดหน่อย คุณเองก็สามารถทานอาหารแบบสุขภาพดีแม้จะต้องไปทานนอกบ้านก็ตาม” ที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์กล่าวย้ำ
ซูซานได้อธิบายถึงทางเลือกที่ดูจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่ห่วงคำนวณแคลอรี่ของอาหารที่ตักเข้าปากในแต่ละมื้อไว้ว่า“การทดแทนมื้ออาหารด้วยตัวช่วยต่างๆ ที่ตอบโจทย์ในเรื่องโภชนาการ แต่ให้แคลอรี่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นความโชคดีของผู้บริโภคที่ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้พัฒนาให้ทางเลือกกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยให้ผู้บริโภคสามารถดูแลสุขภาพและโภชนาการของตนเองได้ในความเร่งรีบของวิถีชีวิตการทำงานในปัจจุบัน”





ขอบอคุณข้อมูลและรูปภาพจากเฮอร์บาไลฟ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น